การดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่1 ได้เพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์เป็นสองลูก และเพิ่มระนาดในวงมโหรีอีกหนึ่งราง ถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เริ่มมีวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบเสภาขึ้น จึงได้คิดเอาเปิงมางที่ใช้ในวงกลองชนะในพระราชพิธีนั้นมาติดข้าวสุกถ่วงเสียงให้ต่ำลง แล้วตีประกอบการบรรเลงดนตรีและขับร้องในการขับเสภาเรียกว่า “สองหน้า” กับได้เพิ่มฆ้องวงในมโหรีอีกอย่างหนึ่ง
วงปี่พาทย์เครื่องคู่
สมัยรัชการที่3 ได้มีผู้คิดค้นระนาดอีกหนึ่งราง มีขนาดใหญ่กว่าระนาดของเดิม เสียงต่ำกว่าและตีด้วยไม้นวมเรียกว่า “ระนาดทุ้ม” กับคิดสร้างฆ้องวงให้มีขนาดเล็กให้มีเสียงสูงเรียกว่า “ฆ้องวงเล็ก” กับนำเอาปี่นอกของเก่ามาผสมขึ้นในวงปี่พาทย์
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ในสมัยรัชกาลที่๔ เป็นรัชกาลที่วงการปี่พาทย์เจริญมาก เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ ต่างมีวงปี่พาทย์ประจำวังประจำบ้าน มีครูบาอาจารย์ผู้สามารถควบคุมปรับปรุงวงกันมาก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงมีความรู้ความสามารถหลายอย่าง จึงได้ทรงสร้างลูกระราดขึ้นชุดหนึ่งมีเสียงต่ำวางบนราง เรียกว่า “ระนาดทุ้มเหล็ก”เมื่อสร้างสำเสร็จแลลองตีดูก็ได้ผลสมดังพระราชประสงค์ แล้วทรงสร้างขึ้นอีกรางหนึ่ง เล็กกว่าและมีเสียงสูงกว่าเรียกว่า “ระนาดเอกเหล็ก” เพิ่มขึ้นในวงปี่พาทย์ทั้งสองอย่าง คือ ทั้งระนาดทุ้มเหล็กและระนาดเอกเหล็ก เรียกวงปี่พาทย์วงนี้ว่า “วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่” ซึ่งก็ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันวงมโหรีเครื่องคู่
ส่วนด้านมโหรีนั้น เมื่อรัชกาลที่ ๓ ปี่พาทย์เพิ่มปี่นอก ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเป็นปี่พาทย์เครื่องคู่ ทางมโหรีเอาอย่างบ้าง คือเพิ่มขลุ่ยขนาดเล็กมีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออขอเดิม เรียกว่า “ขลุ่ยหลิบ” และเพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กขึ้นบ้างเรียกว่า “วงมโหรีเครื่องคู่”
วงมโหรีเครื่องใหญ่
ครั่นถึงสมัยรัชกาลที่๔ ปี่พาทย์เพิ่มระนาดทุ้มเหล็กกับระนาดเอกเหล็ก มโหรีก็เพิ่มบ้าง ๒อย่าง แต่ระนาดเหล็กนั้นในวงมโหรีมักจะสร้างด้วยทองเหลืองจึงได้เรียกว่า “ระนาดทอง” นอกจากนี้แล้วยังได้นำเอาซอด้วง ซออู้ในวงเครื่องสายเข้ามาผสมในวงมโหรีด้วย เรียกว่า “วงมโหรีเครื่องใหญ่”
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
สมัยรัชกาลที่๕ ได้เกิดวงปี่พาทย์ขึ้นอีกแบบหนึ่งเรียกว่า “ปี่พาทย์ดึกดำ-บรรพ์” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ทรงปรับปรุงขึ้นเพื่อบรรเลงประกอบละคร วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์แบบนี้มีผู้นิยมไปใช้บรรเลงในที่ต่างๆมาจนปัจจุบันนี้
สมัยรัชกาลที่๖ เป็นสมัยที่การดนตรีไทยเจริญขึ้นมากเพราะพระมหากษัตริย์ทรงสนพระทัยและทรงบำรุงอย่างจริงจัง ถึงแก่ตั้งกรมมโหรสพซึ่งมีกรมบัญชาการ กรมโขนหลวง กรมพิณพาทย์หลวง กองเครื่องสายฝรั่งหลวง และกรมช่างมหาดเล็กสำหรับสร้างและซ่อมสิ่งซึ่งเป็นศิลปะทั้งปวง
สมัยรัชกาลที่๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการดนตรีไทยอันมาก ถึงแก่ตั้งวงเครื่องสายเป็นส่วนพระองค์ขึ้น เป็นวงเครื่องสายที่สมบูรณ์วงหนึ่งทีเดียว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรงพระปรีชาสามารถในทางดนตรีไทยถึงแก่ได้ทรงแต่งเพลงไทยขึ้นไว้อย่างไพเราะ
ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพุทะศักราช ๒๔๗๕ การดนตรีไทยได้ค่อยๆ เสื่อมลงจนบางสมัยแทบเอาตัวไม่รอด จนมาถึงสงครามโลกครั่งที่๒ ได้เสร็จสิ้นไปแล้ว จึงได้เริ่มฟื้นฟูกันขึ้นใหม่และค่อยๆ เจริญขึ้นมาโดยลำดับจนมาถึงปัจจุบันนี้
ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเป็นผู้ที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดนตรีสากลถึงแก่พระราชนิพนธ์เพลงขึ้นไว้หลายเพลง แต่พระองค์ทรงสนพระทัยใน ดนตรีไทยเป็นอันมาก