7
วิทยาการก้าวหน้า |
คอมพิวเตอร์ (Computer) ดาวเทียม (Satellite) เลเซอร์ (Laser) หุ่นยนต์ (Robot) พลาสติก (Plastic) เซรามิกส์ (Ceramics) ปิโตรเลียม (Petroleum) |
คอมพิวเตอร์ (Computer) |
ในปี ค.ศ.1800
Charles Babbage ได้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น มีน้ำหนักประมาณ 30,000
กิโลกรัม และใช้หลอดสูญญากาศ จำนวน 18,000 หลอด ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก
การทำงานมีข้อผิดพลาดมาก ทำให้การซ่อมแซมบ่อยเฉลี่ยประมาณทุก 7 นาที
และประสิทธิภาพการทำงานก็ช้า
มีราคาแพง ในปี ค.ศ.1944 ได้สร้างเครื่องคำนวนเครื่องแรก ที่ทำงานโดยอัตโนมัติที่เรียกว่า IBM MARKI หรือ ASCC โดยการสนับสนุนของบริษัทไอบีเอ็ม ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลทางไฟฟ้า มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหว ทำให้มีการสึกหรอได้ง่าย ขัดข้องบ่อยทำงานได้ช้า ในปี ค.ศ.1946 ได้สร้างเครื่องคำนวนอิเลคโทรนิคเครื่องแรกของโลก เรียกว่า ENIAC อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง ไม่มีการเคลื่อนไหวสามารถทำงานได้เร็วกว่า IBM MARKI ในปี ค.ศ.1952 ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แผนใหม่ ที่ใช้ระบบเลขฐานสอง ในการทำงานมีชื่อว่า EDVAC ต่อมาได้มีการค้นพบทรานซิสเตอร์ (TRANSISTOR) ซึ่งทำงานได้เหมือนหลอดสูญญากาศ แต่ขนาดเล็กกว่าหลายสิบเท่า ราคาถูกกว่า และนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ แทนหลอดสูญญากาศ หลังจากนั้นได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์ หลายหมื่นตัวมาประกอบรวมกันเป็น CHIP ขนาดเล็กซึ่งเรียกว่า ไอซี (Integrated Circuit) มาประกอบเป็นอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของคอมพิวเตอร์ ยังไม่หยุดเพียงแค่ไอซี เท่านั้น ได้มีการรวมเอาไอซี หลายๆ ตัวไว้ในตัวเดียวกัน ที่เรียกว่า LSI CHIP และปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ ภายในคอมพิวเตอร์เป็นแบบ วีแอลเอสไอ (VLSI - very large scale integuated circuit) ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีความรวดเร็ว ในการทำงานมากขึ้น เมื่อเทียบกับเครื่องรุ่นแรก เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ ก็ต่อเมื่อรับข้อมูลจากมนุษย์ ซึ่งเป็นคำสั่ง ที่มนุษย์ป้อนข้อมูลนั้นเข้าไป และจะต้องเป็นภาษาคอมพิวเตอร์เท่านั้น โดยเรียบเรียงข้อมูล ที่ถูกต้องเรียกว่า "โปรแกรม" คอมพิวเตอร์แตกต่างจากเครื่องคำนวนอื่นๆ คือ คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้ เมื่อเราป้อนคำสั่ง ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และคอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีที่สุด ในการคำนวนที่ผลออกมาเป็นตัวเลขได้เป็นพันๆ คำ ต่อหน้าถึง 3 นาที และคอมพิวเตอร์มีความสามารถ ในการเก็บบันทึกข้อมูล การแยกแยะ และการเปลี่ยนแปลงรับข้อมูลใหม่ ได้จำนวนมหาศาลในเวลาอันรวดเร็ว ประโยชน์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมากมาย เช่น การใช้ในโรงเรียน ในวงการธุรกิจ การธนาคาร การคำนวนด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม การออกแบบ ด้านสถาปัตยกรรม และหุ่นยนต์ การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในสำนักงาน เป็นต้น |