+ โครงการตามพระราชประสงค์
+ โครงการหลวง
+ โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
+ โครงการพระราชดำริ
 

กษัตริย์แห่งการศึกษา

สารานุกรมสำหรับเยาวชน

โครงการตามพระราชดำริที่นับเนื่องในพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการศึกษานอกโรงเรียนที่สำคัญโครงการหนึ่ง คือ โครงการ สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน ซึ่งได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่พุทธศักราช 2511 ดังพระราชปรารภ และพระราชดำริ ในตอนต้นของ หนังสือสารานุกรม แต่ละเล่มต่อไปนี้

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภว่า " การเรียนรู้ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่าง ๆ โดยกว้างขวาง เป็นเหตุให้เกิดความรู้ ความคิด และความฉลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับชีวิต ช่วยให้เกิดความมั่นคงให้แก่ตนเอง ทั้งแก่สังคม และบ้านเมืองอันเป็นที่พึ่งอาศัย ทุกคนจึงควรมีโอกาส ที่ศึกษาหาความรู้ ได้ตามความประสงค์และกำลังความสามารถโดยทั่วกัน …"

      ทรงพระราชดำริว่า " หนังสือประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการอันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการ หรือพอใจระเรียนรู้เรื่องใด ก็สามารถค้าหาอ่านทราบโดยสะดวก นับว่าเป็นหนังสือ ที่มีประโยชน์ เกื้อกูลการศึกษาเพิ่มพูลปัญญาด้วยตนเอง ของประชาชนอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยาม ที่มีปัญหาการขาดแคลนครู และที่เล่าเรียนเช่น ขณะนี้หนังสือสารานุกรม จะช่วยคลี่คลาย ให้บรรเทาเบาบางลง ได้เป็นอย่างดี จึงมีพระราชดำรัสให้ตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ ซึ่งดำเนินการสร้างหนังสือ สารานุกรมฉบับใหม่ อีกชุดหนึ่ง มีความมุ่งหมายที่จะนำวิชาการแขนงต่าง ๆ ที่ควรศึกษา ออกเผยแพร่แก่เยาวชน ให้แพร่หลายทั่วถึง เพื่อเยาวชน จักได้หาความรู้ช่วยตัวเองได้จากการอ่านหนังสือ และเพื่อให้ได้ประโยชน์ อันกว้างขวาง ยิ่งขึ้น ทรงกำหนดหลักการทำ คำอธิบายเรื่องต่าง ๆ แต่ละเรื่องเป็นสามตอน หรือสามระดับ สำหรับให้เด็กรุ่นเล็กอ่านเข้าใจได้ระดับหนึ่ง สำหรับเด็กรุ่นกลาง อ่านเข้าใจได้ ระดับหนึ่ง และสำหรับเด็กรุ่นใหญ่ รวมถึงผู้ใหญ่ผู้สนใจอ่านได้อีกระดับหนึ่ง เพื่ออำนวยโอกาสให้ บิดามารดา สามารถใช้หนังสือนั้น เป็นเครื่องมือ และลำวิชาแก่บุตรธิดาและให้พี่แนะนำ วิชาแก่น้องเป็นลำดับกันลงไป นอกจากนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใด มีความเกี่ยวพัน ต่อเนื่องถึงเรื่องอื่น ๆ ก็ให้อ้างอิงถึงเรื่องนั้น ๆ ด้วยทุกเรื่องไปด้วยประสงค์ จะให้ผู้ศึกษาทราบ ตระหนักว่า วิชาการแต่ละสาขา มีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องถึงกัน พึงจะศึกษาให้ครบถ้วนทั่วถึง …"

      โดยพระราชดำริดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น ดำเนินการ โดยคณะกรรมการ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะกรรมโครงการฯ ชุดเริ่มงานเข้าเฝ้า ฯ เพื่อรับสนองพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ แนวความคิด และวิธีปฏิบัติในการ จัดทำ สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พุทธศักราช 2511 ในการ ปฏิบัติงาน คณะกรรมการโครงการ ฯ ได้วางแผนและดำเนินงานเป็นขั้นตอน แต่เนื่องจาก พระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับสารานุกรม รูปปลักษณะเช่นนี้ เป็นแนวความคิดใหม่ไม่ปรากฎว่า มีประเทศใดกระทำ ป็นตัวอย่าง มาก่อน ดังนั้น การดำเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษา มีการทดลอง และกระทำ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ นอกเหนือจาก การจัดตั้งคณะกรรมการกลาง สำหรับดำเนินงานฝ่ายต่าง ๆ ของโครงการ อาทิ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายภาษา ฝ่ายศิลป์ ฝ่ายการพิมพ์ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายธุรการแล้ว ยังมีการจัดแบ่งวิทยาการของสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และมนุษศาสตร์ พร้อมกำหนดหัวข้อเรื่องและวิทยากรผู้เขียนเรื่องต่าง ๆ ของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งวิทยากรทรงคุณวุฒิทั้งสิ้นนั้น ได้อุทิศเวลาและแรงงานโดยไม่คิดค่าตอบแทนแม้แต่น้อย กองทุนงบประมาณของโครงการ ฯ ส่วนหนึ่ง เป็นเงินโดยเสด็จพระราชกุศล จากผู้บริจาค มากรายด้วยกัน โดยที่สโมสรไลออนส์ในประเทศไทยเป็นผู้อุปการะรายสำคัญ ในการจัดหาเงินทุนทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จ พระราชกุศล ติดต่อกันมาหลายครั้งเป็นจำนวนเงินมากกว่าสองล้านบาท ซึ่งได้ช่วยเป็นค่าพิมพ์ สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน แล้วเสร็จถึงสองเล่ม …"

      สารานุกรม ฯ เล่มที่ 1 ได้พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2516 มีเรื่อง 9 เรื่อง คือ ดวงอาทิตย์ อุปราคา ท้องฟ้ากลางคืน นก ปลา เครื่องจักรกล พลังงาน อากาศยาน และดนตรีไทย
      สารานุกรม ฯ เล่มที่ 2 ได้พิมพ์ขึ้น ใน พ.ศ. 2518 มีเรื่อง 10 เรื่อง คือ การจำแนกและจัดดำลับหมวดหมู่ ของสัตว์ เวลา บรรยากาศ การตรวจอากาศ อุตสาหกรรม อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย การศึกษา กรุงเทพมหานคร และตราไปรษณียากรไทย
       สารานุกรม ฯ เล่มที่ 3 ได้พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2520 มีเรื่อง 10 เรื่อง คือ ข้าว ข้าวโพด ฝ้าย ยางพารา ทรัพยากรป่าไม้ ผลิตผลป่าไม้ การทำไม้ วัชพืช วัควาย และช้าง
       สารานุกรม ฯ เล่มที่ 4 ได้พิมพ์ใน พ.ศ. 2521 มีเรื่อง 10 เรื่อง คือ การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต การหายใจ ความสมดุลของของเหลวในร่างกาย ไวรัส ปรากฎการณ์ของอากาศ ภูมิอากาศ รถไฟ การศาสนา การต่างประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ และดำลับพระมหากษัตริย์ไทย
      สารานุกรม เล่มที่ 5 ได้พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2523 มีเรื่อง 8 เรื่อง คือ ผัก ผลไม้ อ้อย มันสำปะหลัง พืชหัว การขยายพันธ์พืช เป็ดไก่ และพันธ์ไม้ป่า
      สารานุกรม ฯ เล่มที่ 6 ได้พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2525 มีเรื่อง 15 เรื่อง คือ คณิตศาสตร์เบื้องต้น ประวัติพัฒนาการเกี่ยวกับจำนวน เซต ตรรกวิทยา ฟังก์ชั่น สมการและอสมการ จุด เส้นและผิวโค้ง ระยะทาง พื้นที่ ปริมาตร สถิติ ความน่าจะเป็น เมตริก กราฟและคณิตศาสตร์ ธรรมชาติ และศิลป์
      สารานุกรม ฯ เล่มที่ ๗ ได้พิมพ์ใน พ.ศ. 2525 มีเรื่อง 9 เรื่อง คือ กล้วยไม้ ผีเสื้อในประเทศไทย การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โรคพืช ครั่ง การเลี้ยงปลา การชลประทาน บ้านเรือนของเราและโทรคมนาคมภาคแรก
      สารานุกรม ฯ เล่มที่ 8 ได้พิมพ์ขึ้นในพ.ศ. 2526 เรื่อง 7 เรื่อง คือ ประวัติการแพทย์และเภสัชกรรมไทย การวิภาคศาสตร์และเสรีวิทยา การกำเนิดของโรค การบริบาลทารกและโครงกุมารเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์และวิสัญญีวิทยา เลือดและธนาคารเลือดในประเทศไทย อุบัติเหตุและการปฐมพยาบาล
      สารานุกรม ฯ เล่มที่ 9 ได้พิมพ์ขึ้นใน พ.ศ. 2528 มีเรื่อง 13 เรื่อง คือ เรื่องของยา สูติศาสตร์ และนารีเวชวิทยา วิธีการทางแพทย์ ในการควบคุม การเจริญพันธุ์ การทำแท้ง การสาธารณสุข โรคมะเร็ง รังสีวิทยา ฟันและเหงือกของเรา เวชศาสตร์ชันสูตร เวชศาสตร์ฟื้นฟู โภชนาการ และยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท