http://www.thaiking.org -*- .o ในหลวงกับ IT o. -*-
ในหลวงกับ IT


                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง  ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  การเกษตร  การชลประทาน  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ  โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น  ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง  ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์  ในด้านส่วนพระองค์นั้น  ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ  ด้วยพระองค์เอง  ทรงปริดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม  เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม  เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์  ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ  และทรงติดตั้งเครือข่าวสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ  ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์  ส.ค.ส.  ด้วยคอมพิวเตอร์  เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย  ความเป็นมาที่พระองค์ท่านทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์นั้น  ม.ล.อัศนี  ปราโมช  ได้ตกลงใจซื้อคอมพิวเตอร์แมคอินทอชพลัส  อันเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ  ถวาย  คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่  ม.ล.อัศนี  เลือกเครื่องนี้  เพราะสามารถเก็บและพิมพ์โน้ตเพลงได้  การเรียนรู้และใช้งานไม่ยาก  ทั้งยังอาจเชื่อมต่ออุปกรณ์พิเศษสำหรับเล่นดนตรีตามโน้ตเพลงที่เก็บไว้ได้ด้วย    ตั้งแต่นั้น  พระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี  โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง พระองค์ท่านทรงศึกษาวิธีการใช้เครื่องและโปรแกรมที่เกี่ยวข้องด้วยพระองค์เอง  สำหรับเรื่องอักขระคอมพิวเตอร์หรือฟอนต์  นั้นเป็นที่สนพระราชหฤทัย  ก็เพราะหลังจากที่พระองค์ท่านได้ทรงศึกษา  และใช้คอมพิวเตอร์ทำโน้ต  คือเมื่อประมาณเดือนธันวาคม  พ.ศ.  ๒๕๒๙  และทรงทดลองใช้โปรแกรม  “Fontastic”  เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์   พ.ศ.  ๒๕๓๐  สิ่งที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษคือการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย  ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยหลายแบบ  เช่น  แบบจิตรลดา  แบบภูพิงค์  ฯลฯ  ทรงสนพระทัยประดิษฐ์อักษรขนาดใหญ่ที่สุดจนถึงขนาดเล็กที่สุด  นอกจากนี้ยังตั้งพระทัยในการประดิษฐ์อักษรภาษาอื่นๆ  เพิ่มขึ้น  คือภาษาสันสกฤต  และทรงดำริจะประดิษฐ์อักษรภาษาญี่ปุ่น  แต่ขณะนี้ยังไม่ได้เริ่มประดิษฐ์ รับสั่งว่าต้องใช้เวลามาก  ต่อมาก็ได้ทรงหันมาศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัวเทวนาครีบนจอภาพ  หรือที่พระองค์ท่าน  ทรงเรียกว่า  “ภาษาแขก”  ซึ่งจัดทำได้ยากกว่าตัวอักษรภาษาไทย  เพราะตัวอักษรเทวนาครีนั้นไม่คงที่    กล่าวคือ  ถ้านำส่วนหนึ่งของอักษรนำมาต่อรวมกับอีกส่วนหนึ่งของอักษร จะเกิดอักษรใหม่ขึ้น  และโปรแกรมที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้นมีตัว  phonetic symbols  การสร้างตัวอักษรเทวนาครีนั้น  ทรงเริมเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๕๓๐  ทรงศึกาตัวอักษรเทวนาครีด้วยพระองค์เอง  จากพจนานุกรมและตำราภาษาสันสกฤต  และทรงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลีสันสกฤต  เช่น  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  และท่านองคมนตรี  ม.ล.จิรายุ  นพวง์ศ  ซึ่งจะต้องตรวจสอบตัวอักษรที่ทรงสร้างขึ้น  พระองค์นำโปรแกรมออกแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่  ๒๓  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๓๐  มีคำถามว่าเหตุใดพระองค์ท่านจึงทรงสนพระราชหฤทัยในตัวอักษรเทวนาศรีหรือภาแขก  เรื่องนี้มีผู้อธิบายไว้ว่า  ในหลวงที่รักของพวกเรานั้น  ทรงศึกษาข้อธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังและลึกซึ้ง  การที่ทรงศึกษาตัวอักษรแขก  ก็เพื่อเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจด้านอักษรศาสตร์  และความเข้าใจในหัวข้อธรรมะนั่นเอง  เรื่องนี้นับว่าพระองค์มีวิจารณญาณที่ลึกซึ้งยิ่งนัก  เพราะคำสอนและข้อธรรมะในพุทธศาสนานั้น  เดิมทีก็เกิดและเผยแพร่มาจากประเทศอินเดีย  บรรดาธรรมะที่ลึกซึ้งและยากแก่ความเข้าใจ  ก็อาจจะถูกตีความผักแปรบิดเบือนไปได้  ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าลึกลงไปถึงภาษาแขก  จึงน่าจะได้ความรู้เกี่ยวกับธรรมะชัดเจนกระจ่างมากขึ้น  ต่อมาได้มีผู้ทูลเกล้าฯ  ถวายเครื่องคอมพิวเตอร์  IBM PC  Compateble  และทรงสนพระทัยศึกษาในการพัฒนา Software  ต่างๆ  และได้สร้างโปรแกรมใหม่ๆ  ขึ้นมา  รวมทั้งสนพระทัยในเทคนิคการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้มากทีเดียว  บางครั้งทรงเปิดเครื่องออกดูระบบต่างๆ  ภายในด้วยพระองค์เอง  หรือทรงปรับปรุง  Software  ใหม่ขึ้นใช้  ทรงแก้ซอฟต์แวร์ในเครื่อง  เช่น  โปรแกรมภาไทย  CR  WRITER  ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์  จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน  ทรงพระอักษรส่วนพระองค์  และทรงเก็บงานเหล่านี้เป็นเรื่องๆ  มาปะติดปะต่อกัน  จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ  และบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ  เช่น  เรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ  เป็นต้น  ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่พระองค์ทรงประดิษฐ์ก็คือ  การใช้คอมพิวเตอร์  “ปรุง”  อวยพรปีใหม่  เพื่อพระราชทานแก่ข้าราชการต่างๆ  ที่เกี่ยวข้อง  แต่เดิมพระองค์ได้พระราชทานผ่านเครื่องเทเล็กซ์  นอกจากนี้พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก  สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ  เช่น  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  พระองค์สนพระทัยซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ  อย่างละเอียดและเป็นเวลานาน

~*~เข้าสู่หน้าหลัก~*~ ~*~ข่าวสาร~*~ ~*~เกี่ยวกับเรา~*~ ~*~ต่ดต่อทีมงาน~*~ ~*~แผนผังเว็บไซต์~*~