http://www.thaiking.org -*- .o โครงการฝนหลวง o. -*-
โครงการฝนหลวง


  จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆเป็นประจำ ได้ทรงพบเห็นหลายๆท้องถิ่นประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร สร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียทางการเกษตรเป็นอย่างสูง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำในแต่ละวันมีมากขึ้น จึงเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่ง
                ด้วยพระเนตรที่ยาวไกลและทรงอัจฉริยภาพ ในปีพ.ศ. 2498 จึงได้มีการคิดค้นหาวิธีการนำเทคโนโลยีที่มีมาประยุกต์กับศักยภาพในการเกิดฝนของเขตร้อนจะทำให้ระบบน้ำตามธรรมชาติ เกิดความพร้อมและสมบูรณ์ตามวัฏจักร คือ

  1.  การพัฒนาระบบ การจัดการแหล่งน้ำใต้ดิน
  2. การพัฒนาระบบ การจัดการแหล่งน้ำผิวดิน
  3. การพัฒนาการจัดการแหล่งน้ำในอากาศ

ในปี  พุทธศักราช  ๒๔๙๙  จึงได้ทรง  พระมหากรุณาพระราชทาน  โครงการพระราชดำริ  ”ฝนหลวง”  ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์  เทวกุล  รับไปดำเนินการ  ศึกษา  วิจัย  และการพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
            พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงกำหนดขั้นตอนของกรรมวิธีการทำฝนหลวงขึ้น  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ  ตามลำดับ  ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง  :  “ก่อกวน”
                ในขั้นตอนนี้  จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น  ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่  เบื้องบน  เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ  หรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ 
ขั้นตอนที่สอง  :  “เลี้ยงให้อ้วน”
                เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลัง  ก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมาก  เพราะจะต้องไปเพิ่มพลังงานให้แก่  Updraft  โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด  ณ  ที่ใดของกลุ่ม  ก้อนเมฆ  และในอัตราเหมาะสม  เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุล  กับความแรงของ  Updraft  มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอนที่สาม  :  “โจมตี”
                เป็นขั้นตอนสุดท้าย  เมฆหรือกลุ่มเมหฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้  เป็นขั้นตอนที่สำคัญ  และอาศัยประสบการณ์มาก  เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อ  ลดความรุนแรงของ Updraft  หรือทำให้อายุของ  Updraft  หมดไป  สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้  จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง  ซึ่งมีอยู่  2  ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก  และเพื่อให้เกิดการกระจากการตกของฝน

 

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

  1. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา  ใช้ในการตรวจวัด  และศึกษาสภาพอากาศ
    1. เครื่องวัดลมชั้นบน  ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลม
    2. เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ  จะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น  ของบรรยากาศในระดับต่างๆ
    3. เครื่องเรดาร์  ตรวจอากาศ  สามารถบอกบริเวณ  ที่มีฝนตกและความแรง  หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี  200-400  กม. 
    4. เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่างๆ 
  2. เครื่องมือเตรียมสารเคมี  ได้แก่เครื่อง  บดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี  ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถัง  และกรวยโปรยสารเคมี 
  3. เครื่องมือ  สื่อสาร  ใช้ในการติดต่อ  สื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบิน  กับฐานปฏิบัติการ
  4. เครื่องมือทางวิชาการอื่นๆ  เช่น  อุปกรณ์  ทางการวางแผนปฏิบัติการ  เข็มทิศ  แผนที่  กล้องส่องทางไกล  เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี  กล้องถ่ายภาพ  และอื่นๆ
  5. สถานีเรดาร์ฝนหลวง  Doppler  radar  จัดเป็นเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์  ที่มีมูลค่าสูง  ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตามประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวง  สาธิตเครื่องมือชนิดนั้น  ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์

ด้วยความสำคัญและปริมาณความต้องการ  ปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง  และได้ผลดียิ่งขึ้น  รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้ง  สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง  ขึ้นในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เมื่อวันที่  ๒๑  กันยายน  พ.ศ.  ๒๕๑๘  เป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

 

~*~เข้าสู่หน้าหลัก~*~ ~*~ข่าวสาร~*~ ~*~เกี่ยวกับเรา~*~ ~*~ต่ดต่อทีมงาน~*~ ~*~แผนผังเว็บไซต์~*~