http://www.thaiking.org -*- .o โครงการฝนหลวง o. -*-
เศรษฐกิจพอเพียง

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล  ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท  ช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความพออยู่พอกิน  และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลนยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลภาภิวัฒน์  ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด
                ในสภาวการปัจจุบัน  ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง  เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมาเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆ  ไปหมดมีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  เศรษฐกิจพอเพียง  จึงได้สื่อความหมายความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
                จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ  การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น  เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน  สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย  สะสมทุน  บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน  เศรษฐกิจจะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ  รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ  พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ  และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
                ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ  “คุณค่า”  มากกว่า  “มูลค่า”  มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ  เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน  ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต  ควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้  สามารถจะลดความต้องการลงมาได้  ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรือง  คุณค่า  จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้  และขจัดความสำคัญของ  “เงิน”  ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง  ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี  สังคมไม่มีปัญหา  การพัฒนายั่งยืน
                การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน  ในยามปกติก็จะทำร่ำรวยมากขึ้น  ยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน  และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็ว  ทำให้เกิดความเข้มแข็ง  ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ  รักธรรมชาติ  ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง  เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ  เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคไม่เพียงพอ  การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง  ตามแนวพระราชดำริ
                การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้  ดังนี้

  1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว
  2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต  ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม
  3. ปัจจัยประกอบอื่นๆ  ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี  และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง  (Linkage)

การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  “บุคคล”  กับ “ระบบ”  ต้องยึดมั่นในเรื่องของ  “คุณค่า”  ให้มารกกว่า  “มูลค่า”  จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง  “บุคคล”  กับ  ”ระบบ”  เป็นไปอย่างยั่งยืน  ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ  กล่าวคือ

    1. ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้  ในทุกคราเมื่อ  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่างๆ  จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้
    2. ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล  ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่างๆ  ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร  สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่  ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง

ในขั้นทดลอง  เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่  หากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาน  หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้
ขั้นยอมรับ  เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน  บ่ม  เพาะ  และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน  ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่นๆ  เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ  แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้วาจะได้รับผลดีต่อชีวิต  และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร
แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้  แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา  ตรากตรำพระวรกาย  เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน  นับเป็นพระร่มมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า  ๖๐  ปี  พระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่างยิ่งที่ทวงราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระบุคลบาท  เพื่อให้เกิดความอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน  โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน  คือ  ความพอมี  พอกิน พอใช้  จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว  ชุมชน  และสังคม  สุดท้ายเศรษฐกิจดี  สังคมไม่มีปัญหา  การพัฒนายั่งยืน

~*~เข้าสู่หน้าหลัก~*~ ~*~ข่าวสาร~*~ ~*~เกี่ยวกับเรา~*~ ~*~ต่ดต่อทีมงาน~*~ ~*~แผนผังเว็บไซต์~*~